หน้าเว็บ

LIST OF STUDY GROUPS 121

LEARNING DOCUMENTATION

SUPPORT

LEARNING MATERIALS

SCIENCE MEDIA

SCIENCE GAMES

SCIENCE MUSIC FOR EARLY CHILHOOD EDUCATION

CHILDREN'S STORIES

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Recording Diary 10





Friday  19  October 2018

Time 08:30 - 12:30 o'clock



👶The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

             วันนี้หลังจากที่ทุกคนนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์จนครบทุกครนเเล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มที่ได้จัดกันไว้ เเล้วให้นักศึกษาปรึกษากันภายในกลุ่ม เเละเลือกการทดลองวิทยาศาสตร์มากลุ่มละ 1 เรื่อง โดยกลุ่มของเราเลือก เรื่อง ตัวนำไฟฟ้า ไม่นำไฟฟ้า เพื่อนำมาจัดเป็นฐานกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย โดยมีขั้นตอนการวางแผนการจัดกิจกกรม ดังนี้ 


👶ฐานการทดลองวิทยาศาสตร์👶

            1. ติดชื่อฐานกิจกรรม

          ➢ 2. ข้อความรู้


            3. ประเด็นปัญหา

          ➢ 4. สมมติฐาน


            5. วัตถุประสงค์

          ➢ 6. สื่อเเละวัสดุอุปกรณ์


            7. ขั้นตอนการทดลอง

          ➢ 8. วิธีการประเมิน




                            👾 ฐาน ติด ดับ จับ ต่อ 👾 



👉ข้อความรู้  : ทำไมเราสามารถจับสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ โดยไม่ถูกไฟดูด เพราะสายไฟถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็น ฉนวน ซึ่งไฟฟ้าไหลผ่านไม่ได้ กระเเสไฟฟ้าจะไหลผ่านเฉพาะลวดโลหะ ทีอยู่ภายในซึ่งเราไม่ได้สัมผัส
👉ประเด็นปัญหา  : กระเเสไฟฟ้าไหลผ่านวัสดุอะไรได้บ้าง
👉สมมติฐาน   :  ครูนำวัสดุเเต่ละอย่างมาเชื่อมต่อในวงจรไฟฟ้า เด็ก ๆ คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
👉วัตถุประสงค์  :  
1. เด็ก ๆ รู้ว่าเเหล่งกำเนิดไฟฟ้าคืออะไร
2. เด็กสามารถเเยกวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าเเละไม่นำไฟฟ้าได้
👉สื่อเเละวัสดุอุปกรณ์
1. หลอดไฟฟ้า  6  V.  0.6  W.
2. ถ่านไฟฉาย  4.5  V.
3. สายไฟชนิดตัวหนีบปากจระเข้
4. ตระกร้าใหญ่ 2 ใบ ตระกร้าเล็ก  4 ใบ
5. ป้ายกระดาษ 
6. วัสดุที่นำมาทดลอง เช่น ปากกา กรรไกร เเก้วพลาสติก ไม้ตะเกียบ ดินสอ ลูกโป่ง กระดาษ
👉ขั้นตอนการทดลอง   :  
1. นำวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าเเละไม่นำไฟฟ้าใส่รวมตะกร้าใหญ่เพื่อให้เด็ก ๆ หยิบมาทำการทดลอง
2. นำสายไฟ้ปากหนีบจระเข้ทั้ง  3  สาย มาต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า เเล้วตรวจสอบดูว่าหลอดไฟสว่างหรือไม่
3. เเบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน ให้เ็ดกเเต่ละคนหยิบวัสดุมาต่อเข้ากับสายไฟชนิดปากหนีบจระเข้คนละ 1 ชนิด เเล้วสังเกตดูว่าหลอดไฟติดสว่างหรือไม่
4. ถ้าหลอดไฟติด วัสดุชนิดนั้นจะเป็นตัวนำไฟฟ้า เเต่ถ้าไม่ติดวัสดุชนิดนั้นจะไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า เรียกว่า ฉนวนไฟฟ้า 
5. หลังจากทดลองเสร็จให้เด็ก ๆ เเยกวัสดุที่นำไฟฟ้าเเละไม่นำไฟฟ้าใส่ในตะกร้าใบเล็ก 
👉วิธีการประเมิน   
1. สังเกตว่าเด็ก ๆ สามารถเเยกวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้า เเละไม่นำไฟฟ้าถูกต้องหรือไม่
2. การถาม - ตอบ การตั้งคำถามปลายเปิดให้เด็กตอบคำถาม เช่น ไฟฟ้าไหลผ่านอะไรได้บ้าง
3. หยิบวัสดุที่เป็นสื่อเเบบเเกะออกได้ มาให้เด็ก ๆ ติดในสื่อที่เตรียมไว้ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของเด็ก ๆ อีกครั้ง







💪ภาพบรรยากาศในการเรียน💪



💋Skills  (ทักษะ)
              การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ทำให้เกิดความสามัคคีเเละความร่วมมือร่วมใจกันภายในกลุ่ม เเละทำให้ผลงานออกมาดีอีกด้วย

😈Apply  (การนำมาประยุกต์ใช้)
              การคิดหากิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ไปจัดให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

👀Technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
         - กระบวนการทำการทดลองเเละการนำเอากิจกรรมไปใช้จัดการเรียนการสอน

👮Assessment  (การประเมิน)
              👉 Our self (ตัวเอง) : มาเรียนตรงเวลาเเละช่วยเพื่อนค้นหางานเเละทำงานกลุ่ม
              👉 Friends (เพื่อน)  เพื่อน ๆ ทุกคน ตั้งใจฟังเเละให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มดี
              👉 Teacher (อาจารย์)  อาจารย์อธิบายเเละให้คำเเนะนำกับนักศึกษาดี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น