วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561





Recording Diary 4



Friday  31  August 2018

Time 08:30 - 12:30 o'clock



👶The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

             วันนี้เรียนเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  มาตราฐานการศึกษาระดับปฐมวัย เเละคุณสมบัติบุคคลที่เอื้อต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


            พัฒนาการ คือความสามารถของเด็กในเเต่ระดับอายุ


          ➢ ทฤษฏีของเพียร์เจ อายุเเรกเกิด - 2 ปี  ระยะใช้ประสาทสัมผัส จะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้


                               * อายุ 2 - 7  ปี  ขั้นก่อนปฏิบัติการ    2 - 4 ปี  ใช้ภาษา

                                                                                        →  4 - 7 ปี  ใช้พูดประโยคได้ยาวขึ้น


***สมอง→ ข้อมูล ซึมซับ

 👉 เกร็ดความรู้

- การเล่น คือ วิธีการเรียนรู้

- เด็กเรียนรู้ เพราะเอาชีวิตรอด

- เนื้อหาที่เรียน ควรเลือกให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก     

- เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น เเละเป็นวัยที่มีพัฒนาการของสมองมากที่สุดในชีวิต       

💥 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

วันนี้เรียนเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  มาตราฐานการศึกษาระดับปฐมวัย เเละคุณสมบัติบุคคลที่เอื้อต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
1. ความหมายทักษะการสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้เเก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย สัมผัสโดยตรงกับวัตถุ มีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลรายละเอียดของสิ่งๆ นั้น
เช่น   1.1 การสังเกตรูปร่างลักษณะ
         1.2 สังเกตการวัดเพื่อทราบปริมาณ เช่น การตวง 
         1.3 สังเกตการเปลี่ยนเเปลง
2. ทักษะการจำเเนกประเภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการเเบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์
ช่น  2.1  ความเหมือน (Similarities) มีลักษณะเหมือนกันทุกอย่าง เอาเข้ากลุ่มเดียวกัน 
        2.2 ความเเตกต่าง (Differences) มีลักษณะต่างกัน เอาออกจากกลุ่ม 
        2.3 ความสัมพันธ์ร่วม (Interrelationships) มีบางสิ่งที่เหมือนกันสัมพันธ์กัน
3.ทักษะการวัด (Measurement) หมายถึง การใช้เครื่องมือต่างๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการ โดยมีหน่วยการวัดกำกับ
 เช่น 3.1 รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด 
        3.2 เลื่อกเครื่องมือวัด 
        3.3 วิธีการที่จะวัด
4. ทักษะการสื่อความหมาย (Cummunication) หมายถึง การพูด เขียน รูปภาพ เเละภาษาท่าทาง การเเสดงสีหน้า ความสามารถในการรับข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
เช่น 4.1 บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
       4.2 บันทึกการเปลี่ยนเเปลงของวัตถุได้
       4.3 บอกความสัมพันธ์ของข้อมูล 
       4.4 จัดกระทำข้อมูลในรูปเเบบต่างๆ
5. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นข้อมูลที่มีอยู่ โดยอาศัยความรู้ประสบการณ์เดิม
เช่น 5.1 ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
       5.2 ลงข้อสรุปความสัมพันธ์สิ่งต่างๆ
       5.3 สังเกตการเปลี่ยนเเปลง
6. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา (Space) หมายถึง การเรียนรู้ 1 มิติ  2 มิติ  3 มิติ เขียนภาพ  2 มิติ เเทนรูป  3 มิติ  บอกทิศทาง  เงา  จากภาพ  3 มิติ หาความสัมพัยธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
เช่น 6.1 บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
       6.2 บอกตำเเหน่งทิศทางวัตถุ 
       6.3 บอกตำเเหน่งซ้าย ขวา ของภาพวัตถุจากกระจกเงา
7. ทักษะการคำนวณ หมายถึง ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ บวก ลบ คูณ หาร บอกลักษณะต่างๆ ความกว้าง ยาว สูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก
เช่น 7.1 การนับจำนวนวัตถุ 
       7.2 การบวก ลบ คูณ หาร
       7.3 การนับจำนวนตัวเลข มากำหนดบอกลักษณะของวัตถุ

😏  มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย
- มาตรฐานด้านผู้เรียน  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ และมีความคิดสร้างสรรค์

😜 สมองกับวิทยาศาตร์
1. ตีความข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ
2. หาเหตุผลเชื่อมโยงสิ่งที่คิดขึ้น เพื่อสืบค้นความจริง
3. ประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆ เพื่อตัดสินใจ
4. จำเเนกองค์ประกอบ เพื่อเห็นภาพรวมทั้งหมด


😊 คุณสมบัติบุคคลที่เอื้อต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
1.ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์
2. ช่างสังเกต ช่างสงสัย ช่างไต่ถาม คำถามที่มักใช้ 5 W  1 H
3. ความสามารถในการลงความเห็น
4. ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล

😎 องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์
1. สิ่งที่กำหนด สังเกต จำเเนก วัด สื่อความหมาย ลงความเห็น เช่น สิ่งของ
2. หลักการหรือกฎเกณฑ์  เช่น เกณฑ์ จำเเนกสิ่งที่เหมือนหรือเเตกต่างกัน
3. การค้นหาคความจริงหรือความสำคัญ เช่น ส่วนที่กำหนดให้ รวบรวม สรุป










💪ภาพบรรยากาศในการเรียน💪



💋Skills  (ทักษะ)
             การนำทักษะทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัย อย่างเป็นลำดับขั้นตอน เรียงเนื้อหาจากง่าย ไปหายาก


😈Apply  (การนำมาประยุกต์ใช้)
              การนำทักษะทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ผ่านการเล่น


👀Technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
               เทคนิคการเข้าสู่บทเรียนเเละการใช้คำถาม  โดยการถามความรู้เดิมที่มีอยู่ เเละเทคนิคการอธิบาย โดยการสรุปเนื้อหาที่เรียน โดยใช้ผังมโนทัศน์

👮Assessment  (การประเมิน)
              👉 Our self (ตัวเอง) : ตั้งใจตอบคำถามเเละจดตามที่อาจารย์สอน
              👉 Friends (เพื่อน)  : เพื่อน ๆ ทุกคน ตั้งใจเรียนดี มีการถามตอบกับอาจารย์ได้ดี
              👉 Teacher (อาจารย์: อาจารย์สอนเข้าใจง่าย เนื้อสั้นกระทัดรัด ทำให้นักศึกษาจับประเด็นสำคัญได้ง่าย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น