วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Recording Diary 11



Friday  26  October 2018

Time 08:30 - 12:30 o'clock



👶The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

             วันนี้อาจารย์ตรวจคลิปวีดีโอการทดลองวิทยาศาสตร์ของเพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอ ให้อาจารย์ดู เเละอาจารย์ก็ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดลอง เเละข้อควรปรับปรุงในการทำการทดลอง เพื่อนำไปปรับปรุงเเละนำไปใช้ในการจัดการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้องเเละทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด


   นางสาวณัฐชา  บุญทอง 

👀นำเสนอการทดลอง เรื่อง ตัวนำไฟฟ้า เเละ ไม่นำไฟฟ้า


ภาพไฟติดกับไฟไม่ติด


👉ประเด็นปัญหา : กระเเสไฟฟ้าไหลผ่านอะไรได้บ้าง
👉สมมติฐาน : ถ้านำวัสดุต่าง ๆ มาต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าจะเกิดอะไรขึ้น
👉ขั้นตอนการทดลอง : ต่อกระเเสไฟให้ครบวงจร จากนั้นนำวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้า เช่น ช้อน เหรียญ ตัวหนีบ  เเละวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น กระดาษ ดินสอ ยาง มาต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า เเล้วให้เด็ก ๆ สังเกตดูว่า หลอดไฟติดหรือไม่ติด ถ้าติดเเสดงว่าเป็นตัวนำไฟฟ้า เเต่ถ้าไม่ติดเเสดงว่าไม่เป็นตัวนำไฟฟ้าหรือเรียกว่าอโลหะ เเล้วให้เด็ก ๆ เเยกวัสดุต่าง ๆ ว่า วัสดุไหนเป็นตัวนำไฟฟ้า วัสดุไหนไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า
**สรุป เมื่อต่อวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าเข้ากับวงจรไฟฟ้า เเล้วไฟติด เป็นเพราะวัสดุชิ้นนั้นเป็นโลหะ กระเเสไฟฟ้าจะไหลครบวงจร เเต่ถ้าไฟไม่ติด เเสดงว่าวัสดุชิ้นนั้นเป็นอโลหะกระเเสไฟฟ้าไหลจะผ่านไม่ครบวงจร

 นางสาวปรางทอง  สุริวงษ์ 

👀นำเสนอการทดลอง เรื่อง เปิดปิด  สวิตซ์มีหน้าที่อะไร


ภาพการเปิดปิดวงจรไฟฟ้า


👉ประเด็นปัญหา : อเราใช้อะไรมาทำสวิตซ์ได้บ้าง
👉สมมติฐาน : ถ้านำตัวนำไฟฟ้ามาเเตะสวิตซ์จะเกิดอะไรขึ้น
👉ขั้นตอนการทดลอง : ตัดกระดาษลูกฟูกขนาด 5 X 5 ซม. เเล้วดัดลวดเสียบกระดาษให้โค้งงอ เเละต่อสวิตซ์เข้ากับกระเเสไฟให้ครบวงจร จากนั้นนำวัสดุที่เป็นโลหะ เช่น ช้อน เหรียญ ตัวหนีบ  เเละวัสดุที่อโลหะ เช่น กระดาษ ดินสอ ยาง มาต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า เเล้วให้เด็ก ๆ สังเกตดูว่า หลอดไฟติดหรือไม่ติด ถ้าติดเเสดงว่าเป็นโลหะ เเต่ถ้าไม่ติดเเสดงว่าไม่เป็นอโลหะ 
**สรุป สวิตซ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตัดต่อวงจรไฟฟ้า สวิตซ์จะตัดการเชื่อมต่อระหว่างขั้วบวกเเละขั้วลบ จึงทำให้กระเเสไฟฟ้าไหลไม่ครบวงจร

  นางสาวบงกชกลม  ยังโยมร

👀นำเสนอการทดลอง เรื่อง ถั่วเขียวเต้นระบำ



ภาพถั่วเต้นระบำ


👉ประเด็นปัญหา : ถั่วเขียวลอยเพราะอะไร
👉สมมติฐาน : ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้ถั่วเขียวลอยได้เพราะอะไร
👉ขั้นตอนการทดลอง : นำถั่วเขียวเทลงในเเก้ว 2 ใบ ในปริมาณที่เท่ากัน จากนั้นเติมน้ำเปล่าใส่เเก้วที่ 1 เเละสังเกต เเละใบที่ 2 นำน้ำโซดาเทลงในเเก้ว เเล้วสังเกตการเกิดปฏิกิริยาทั้ง 2 ใบ
**สรุป น้ำโซดาทำให้ถั่วเขียวลอยได้ เพราะในน้ำโซดามีฟองซ่าที่เรียกว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

  นางสาวอุไรพร  พวกดี

👀นำเสนอการทดลอง เรื่อง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยดับไฟ


ภาพการดับไฟของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์


👉ประเด็นปัญหา : อะไรบ้างสามารถทำให้ไฟดับ
👉ขั้นตอนการทดลอง : ตักเบกกิ้งโซดา 2 ช้อน ลงในภาชนะ เเล้วนำเทียนไปวางไว้ตรงกลาง จากนั้นจุดไฟ เเล้วค่อย ๆ เทน้ำมะนาวลงในภาชนะที่ทำการมดลอง โดยที่ไม่ให้โดนเทียน เเล้วให้เด็กสังเกตว่าไฟดับหรือไม่
**สรุป เมื่อเทน้ำมะนาวลงในบนเบกกิ้งโซดา จะทำให้เกิดปฏิกิริยา ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะช่วยให้ไฟดับได้

 


  นางสาวมารีน่า  ดาโร๊ส

👀นำเสนอการทดลอง เรื่อง คาร์บอนไดออกไซด์



ภาพการดับไฟของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์


👉ประเด็นปัญหา : เทียนจะดับได้อย่างไร
👉ขั้นตอนการทดลอง : จัดเทียนเเล้วนำเเก้วไปครอบไว้ที่เทียน เทียนจะดับลงเเละมีควันขึ้น ควันที่ขึ้นนั้น คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาเเทนที่ทำให้ออกซิเจนในเเก้วเริ่มหมดไป
**สรุป ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีปฏิกิริยาทำให้ไฟดับได้ เพราะ ขาดออกซิเจน

  นางสาวสุจิณณา  พาพันธ์

👀นำเสนอการทดลอง เรื่อง การหักเหของน้ำ

👉ประเด็นปัญหา : น้ำเปลี่ยนทิศทางได้อย่างไร
👉ขั้นตอนการทดลอง : นำขวดน้ำมาเจาะรู เพื่อให้มีน้ำไหลออก จากนั้นปิดฝาขวดไว้ เเล้วนำผ้าขนสัตว์หรือผ้าคุณหนูมาถูกับช้อนจนเกิดความร้อน จนทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต เปิดฝาน้ำให้น้ำไหลออกมา จากนั้นนำช้อนมาวางขนานกับสายน้ำที่ไหล เเล้วให้เด็ก ๆ สังเกตทิศทางของน้ำที่ไหลออกมาว่ามีการเปลี่ยนทิศทางหรือไม่
**สรุป ไฟฟ้าสถิตที่เกิดจากความร้อน จะทำให้น้ำเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่หรือหักเหได้

💋Skills  (ทักษะ)
              การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เเละได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดของเด็กได้อีกด้วย


😈Apply  (การนำมาประยุกต์ใช้)
             การนำเอาคำเเนะนำไปปรับใช้ในการเรียนเเละการทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


👀Technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
              การอธิบายเเละการให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการทดลอง ทำให้ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น


👮Assessment  (การประเมิน)
              👉 Our self (ตัวเอง) : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเเละจดตามที่อาจารย์ให้ความรู้เพิ่มเติม
              👉 Friends (เพื่อน)  เพื่อน ๆ ทุกคน ตั้งใจเรียนดี มีการถามตอบกับอาจารย์ได้ดี
              👉 Teacher (อาจารย์)  อาจารย์อธิบายได้ละเอียด เเละให้ความรู้เพิ่มเติม ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น