วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Recording Diary 7



Friday  21  September 2018

Time 08:30 - 12:30 o'clock






👶The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

             วันนี้อาจารย์ได้เเจกเเผ่นความรู้ของ บ้านวิทยาศาสตร์ ให้นักศึกษาคนละ 1 เรื่อง เเละให้นักศึกษาอ่านพร้อมสรุปใส่กระดาษ A4 โดยตั้งคำถามให้สรุปครบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ  1.ปัญหา  2. สมมติฐาน  3. การทดลอง  4. เก้บข้อมูล  5. สรุปผล โดยเรื่องที่ได้คือเรื่อง เเสงเเละเงา


💦เเสง สี เเละการมองเห็น💦 เรื่อง "เงาของตุ๊กตาทอดยาวเมื่อไร"


👉ข้อความรู้  : ถ้าไม่มีเเสง ก็ไม่เกิดเงา เด็ก ๆ คงเคยสังเกตเห็นเงาของตนเอง ในตอนค่ำเมื่อเราเดินผ่านเสาไฟข้างถนนจะสังเกตเห็นว่าเงาของเราบางทีก็ใหญ่ บางทีก็เล็กหรือบางที่ดูเหมือนว่าเงาเดินนำหน้าเรา
👉ประเด็นปัญหา  : เงาเกิดขึ้นได้อย่างไร
👉สมมติฐาน   :  ครูนำวัสดุเเต่ละอย่างมาเชื่อมต่อในวงจรไฟฟ้า เด็ก ๆ คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
👉วัตถุประสงค์  :  ถ้าเรานำไฟฉายส่องวัตถุที่มีระยะเเตกต่างกันจะเกิดอะไรขึ้น
👉สื่อเเละวัสดุอุปกรณ์ : 
1. โคมไฟตั้งโต๊ะ
2. ไฟฉาย
3. เทียไขเเละแผ่นรองทนความร้อน
4. ผนังสีขาวหรือกระดาษเเข็งสีขาว
5. วัตถุที่สร้างเงา เช่น ตุ๊กตา
👉ขั้นตอนการทดลอง   :  
1. การทดลองนี้ ควรทำในห้องมืด เเหล่งกำเนิดเเสงควรมีลักษณะเป็นจุด เช่น หลอดไฟ
2. ให้เด็ก ๆ ใช้ไฟฉาย 2 กระบอกส่องวัตถุจากระยะห่างที่เท่ากัน ว่ามีเงาเกิดขึ้นกี่เงา เเละเงาที่เกิดขึ้นมีขนาดต่างกันหรือไม่
3. เงามีขนาดเท่าเดิมหรือไม่ เมื่อเเหล่งกำเนิดเเสงอยู่ห่างจากวัตถุในระยะต่าง ๆ กัน
4. ให้เด็กบรรยายเเละวาดสิ่งที่สังเกตเห็น
👉สรุป   :  เงาเกิดขึ้นเมื่อมีเเสงส่องไปยังวัตถุที่ทึบเเสงที่มีระยะเเตกต่างกัน จะทำให้เเสงจะเกิดการสะท้อน เเละการหักเหของเเสง จึงทำให้เกิดเงา เเละจากการหักเหของเเสงนั้น ก็จะทำให้วัตถุมีขนาดที่เเตกต่างกันออกไป




👉ภาพการทำกิจกรรม👈


         💣หลังจากที่สรุปบ้านนักวิทยาศาสตร์กันเสร็จ อาจารย์ก็เเจกเเกนกระดาษทิชชูมาคนละ 1 ม้วน เเละให้นักศึกษาประดิษฐ์สิ่งของที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาคนละ 1 ผลงาน พร้อมกับบอกประโยชน์ของสิ่งที่ประดิษฐ์เเเละเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร ซึ่งหนูเลือกประดิษฐ์ กล้องส่องเงา


💦กล้องส่องเงา💦




👉ภาพกล้องส่องเงา👈

👉อุปกรณ์  : 
1. เเกนกระดาษทิชชู
2.กระดาษสี
3.กรรไกร
4. กาว
5. ไฟฉาย
👉วิธีทำ  : 
1. วาดรูปสิ่งที่ชอบใส่กระดาษสีเเข็ง 
2. ตัดตามรูปที่วาดไว้เป็นชิ้นเล็ก ๆ
3. ตัดเเกนกระดาษทิชชู ออกเป็น 2 ท่อน
4. นำรูปที่ตัดไว้มาติดใส่เเกนกระดาษทิชชชู เเละตกเเต่งเเกนกระดาษทิชชูให้สวยงาม
5. นำไฟฉายไปส่องผ่านเเกนกระดาษทิชชู เพื่อทำให้เกิดเงา (สื่อชิ้นนี้ควรเล่นในห้องมืด)
👉สรุป  : สื่อชิ้นนี้เป็นสื่อวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เด็กเรียนรู้เรื่องการเกิดเงา เพราะ

เงาเกิดขึ้นเมื่อมีเเสงส่องไปยังวัตถุที่ทึบเเสง เเละจะทำให้เเสงจะเกิดการสะท้อน จึงทำให้เกิดเงาขึ้น


💋Skills  (ทักษะ)
            การตั้งคำถามสำหรับเด็กปฐมวัย ต้องตั้งจากงานไปหายาก เพื่อทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
😈Apply  (การนำมาประยุกต์ใช้)
             การนำเศษวัสดุที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ โดยการทำเป็นสื่อการเรียนการสอนเด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

👀Technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
            การนำเศษวัสดุที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์
👮Assessment  (การประเมิน)
              👉 Our self (ตัวเอง) : ตั้งใจฟัง เเละทำงานที่ได้รับมอบหมายดี 
              👉 Friends (เพื่อน)  เพื่อน ๆ ทุกคน ตั้งใจทำงานของตนเองดี เเละมีการเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
              👉 Teacher (อาจารย์)  อาจารย์อธิบายงานได้ละเอียดดี เเละมีกิจกกรมให้ทำที่หลากหลาย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น