วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

👀สรุปตัวอย่างการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย💨

 💦 เรื่อง ความลับของสีดำ  💦




    

         สีดำเกิดจากสีหลาย ๆ สีมารวมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน ทำให้เกิดสีต่าง ๆ มากมาย การเเยกสีด้วยกระดาษกรอง เราเรียกว่า "เปอเปอร์โครมาโทกราฟี" ซึ่งเป็นการเเยกสารที่ผสมกันในปริมาณน้อยให้เเยกออกมาเป็นรเเถบเส้นสีหรือเเถบสี อาศัยสมบัติ 2 ประการ คือ 1. สารต่างชนิดกัน มีความสามารถในการละลายในตัวทำละลาย (น้ำ) ได้ต่างกัน  2. สารต่างชนิดกัน มีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับ (กระดาษกรอง) ได้ต่างกัน  สารที่ละลายในตัวทำละลายได้ดีส่วนมากจะถูกดูดซับไม่ดี จึงเคลื่อนที่ไปได้ไกล ส่วนสารที่ละลายในตัวทำละลายได้ไม่ดี ส่วนมากจะถูกดูดซับได้ดี จึงอยู่ใกล้กับจุดเริ่มต้น






💦สรุปวิจัย💦
เรื่อง : ผลการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการวัฏจักรการเรียนรู้กับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนที่มีต่อความสนใจใฝ่รู้ของเด็กอนุบาล

ปริญญานิพนธ์ : นางสาวภัสรำไพ  จ้อยเจริญ                                                                                

         วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรเเละการสอน  คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556  

               

 👀ภูมิหลัง   

👉 จากการเรียนของเด็กไทยพบว่าความสามารถของเด็กไทยในด้านการคิดคำนวณ มีคะเเนนเฉลี่ยต่ำสุด เนื่องจากการสอนที่ใช้วิธีการสอนในรูปสัญลักษณ์ คือ สอนด้วยการใช้วาจา และใช้ภาษาเขียน การอนแบบเก่าเป็นการสอนที่พยายามยัดเยียดโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กอย่างเป็นทางการมากกว่า การเปิดโอกาสให้เด็กสร้างความรู้ด้วยตนเองจากการทำกิจกรรม


   😇ความมุ่งหมาย   

 👉1. เพื่อศึกษาความสนใจใฝ่รู้ด้านความอยากรู้อยากเห็น ด้านการเเสวงหาความรู้ เเละด้านความพอใจในการเรียนรู้ของเด็กอนุบาลที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยการบูรณาการวัฏจักรการเรียนรู้กับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

👉2. เพื่อศึกษาความสนใจใฝ่รู้ด้านความอยากรู้อยากเห็น ด้านการเเสวงหาความรู้ เเละด้านความพอใจในการเรียนรู้ของเด็กอนุบาลที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยการบูรณาการวัฏจักรการเรียนรู้กับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเเละการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เเบบปกติ



  😎ความสำคัญ   

👉วิทยาศาสตร์ทีความสำคัญต่อความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติเเละเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย ควรคำนึงถึงการส่งเสริมคุณลักษณะของการเป็นนักวิทยาศาสตร์ โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรงทั้งในเเละนอกห้องเรียนช่วยกระตุ้นเเละจูงใจใฝ่รู้ในตัวผู้เรียน เพื่อเสริมสร้างให้เด็กมีความกระตือรือร้นอันจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยังยืน


😄ขอบเขตของการวิจัย    

👉 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3  โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

👉 
ประเด็นที่จะศึกษา / ตัวแปร

- ตัวเเปรกระทำ ได้เเก่ การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์  เเบ่งเป็น

       1. การจัดประสบการณ์โดยบูรณาการวัฏจักรการเรียนรู้กับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
       2. การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เเบบปกติ


- ตัวแปรตาม คือ ความสนใจใฝ่รู้ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้เเก่ ความอยากรู้อยากเห็น การเเสวงหาความรู้ เเละความพอใจในการเรียนรู้
👉 ระยะเวลาในการทดลอง
ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองรวม 10 สัปดาห์


  😚สมมติฐานในการวิจัย                        
👉1. หลังทดลอง เด็กอนุบาลที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้การบูรณาการ
วัฏจักรการเรียนรู้กับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน มีค่าเฉลี่ยคะเเนนความสนใจใฝ่รู้ ด้านความอยากรู้อยากเห็น การเเสวงหาความรู้ เเละความพอใจในการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการทดลอง


👉2. หลังทดลอง เด็กอนุบาลที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้การบูรณาการ
วัฏจักรการเรียนรู้กับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน มีค่าเฉลี่ยคะเเนนความสนใจใฝ่รู้ ด้านความอยากรู้อยากเห็น การเเสวงหาความรู้ เเละความพอใจในการเรียนรู้สูงกว่าเด็กอนุบาลที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เเบบปกติ

 😪 เครื่องมือที่ใช้  
👉1. เเผนการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการวัฏจักรการเรียนรู้กับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
       2. เเผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เเบบปกติ

  😺คู่มือการใช้เเผนการจัดประสบณ์โดยบูรณาวัฏจักรการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน  



😷 เเผนการจัดประสบณ์โดยบูรณาวัฏจักรการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน 







       







  🙇ตัวอย่างเเบบสรุปลักษณะของสิ่งมีชีวิต เเละไม่มีชีวิต



 😈ตัวอย่างภาพกิจกรรมการจัดประสบณ์โดยบูรณาวัฏจักรการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน    







สรุปผลการวิจัย
1. ความสนใจใฝ่รู้ด้านความอยากรู้อยากเห็น การสนันสนุนการเรียนรู้ของเด็กวัยอนุบาล ทำได้โดยการเปิดโอกาสให้เด้กได้เลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ ให้อิสระเเละเวลาเด้กในการสำรวจ ศึกษา เเละสร้างข้อความรู้ตนเองอย่างเพียงพอ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสในการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
2. ความสนใจใฝ่รู้ด้านการเเสวงหาความรู้ จะประกอบไปด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ตระหนักรู้สู่ปัญหา  2. สำรวจเเละค้นพบ  3. สร้างคำอธิบายเเละได้คำตอบ  4. นำความรู้ไปใช้  โดยมีการสอดเเทรกด้วยการประเมิน ซึ่งเป็นขั้นที่ให้เด็กเเเละครูร่วมกันสนทนาทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ เเละความรู้สึกในการทำกิจกรรมทุกขั้นตอน โดยให้เด็กเล่าประสบการณ์เเละความรู้สึกที่เกิดขึ้นตอนทำกิจกรรม ซึ่งทำให้เห็นถึงจุfบกพร่องของการทำกิจกรรม เเละนำไปสู่ความต้องการเเสวงหาความรู้ในขั้นต่อไป
3. ความสนใจใฝ่รู้ด้านความพอใจในการเรียนรู้ มนุษย์ทุกคนมีความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับปรากฏการณ์ในสิ่งเเวดล้อมเเละมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจปรากฏการณ์นั้น ๆ การเรียนรู้นอกห้องเรียนสามารถกระตุ้นให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็นได้ง่าย

บทความ💨

เรื่อง ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ ?  👶


       1. การอ่านหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ เพราะในปัจจุบันนี้มีหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากมาย มีภาพประกอบที่สวยงาม เเต่ละเรื่องสอดเเทรกการทดลองที่น่าสนใจไว้บางเล่มก็เป็นการ์ตูนภาพน่ารัก ๆ บางเล่มก็เป็นนิยายเเนวผจญภัย ยกตัวอย่างเช่น หนังสือการ์ตูนโดเรเอมอนในชุดความรู้ พร้อมอธิบายเรื่องจักรวาลไว้ด้วย หนังสือการ์ตูนเอาชีวิตจากโลกร้อน ที่ช่วยสอนเด็ก ๆ ให้ช่วยกันดูเเลสิ่งเเวดล้อม หรือหนังสือสารานุกรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเเละเยาวชน


ห้องสมุดเคลื่อนที่

         2. ทำการทดลองอย่างง่าย ๆ กล่องกิจกรรมการทดลองชุดเจาะลึกเทคโนโลยีด้วยวิทยาศาสตร์ที่ให้เด็ก ๆ ได้สนุกสนานไปกับการทดลองสารเรืองเเสง หรือหนังสือชื่อ เราก้าวทะลุโปสการ์ดได้อย่างไร ที่ช่วยเเนะนำการทดลองเเบบง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน


ชุดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์

         3. พาเข้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เเบบเชิงปฏิสัมพันธ์ หรือพิพิธภัณฑ์ที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหรือทดลอง เข้าร่วมในกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์ด้วยได้ เช่น จตุรัสวิทยาศาสตร์ เป็นสวนสนุกวิทยาศาสตร์หรือแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นส่งเสริมความรู้คู่ความบันเทิงให้กับเด็ก ๆ  นอกจากนี้ยังมีสนามเด็กเล่น Kid Play Ground ที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กวัย 3 - 8 ปี ด้วยการพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์เเละช่วยปลูกฝังความสนใจด้านวิทยาศาสตร์เเละคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก


ห้องการทดลองวิทยาศาสตร์

👉สรุปได้ว่า  :  วิทยาศาสตร์สามารถเรียนรู้ได้ง่ายจากการอ่านหนังสือวิทยาศาสตร์หรือเข้าไปศึกษาจากพิพิธภัณฑ์วิทยาสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ช่วยกระตุ้นเเละพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์เเละช่วยปลูกฝังความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ ที่เน้นส่งเสริมความรู้คู่ความบันเทิงให้กับเด็ก ๆ ทำให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น เเละลงมือปฏิบัติหรือทำการทดลองวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้เเละสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

➣ที่มา: https://th.theasianparent.com/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C